การเมือง ของ การุณ ใสงาม

การุณ ใสงาม สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2526 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. จังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2526, 2529 และ 2538 ในสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ มาโดยตลอด และลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์เพื่อสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งแรกที่มีการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2543

ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นายการุณได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 เข้าร่วมสังกัดพรรคประชาราช ได้รับตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรค แต่ลาออกเมื่อ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 และไปสังกัด พรรคมัชฌิมาธิปไตย พร้อมกับกลุ่มของ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 นายการุณได้ลงสมัครในระบบสัดส่วน กลุ่ม 4 ลำดับที่ 2 ในสังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2551 ได้ลงสมัครนายกเทศมนตรีตำบลประโคนชัย บ้านเกิดอีกครั้ง ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ช่วงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2551 นายการุณ ใสงาม ได้เข้าร่วมขึ้นเวทีปราสรัย โดยมีนายสมบูรณ์ ทองบุราณ อดีต ส.ว.ยโสธร และ นายอธิวัฒน์ บุญชาติ แกนนำอีสานกู้ชาติ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ นักการเมืองจากจังหวัดบุรีรัมย์ เข้าร่วมชุมนุมกับ พลตรีจำลอง ศรีเมือง และ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชนชนเพื่อประชาธิปไตย

ในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย[1]